fbpx

น้ำตาลพาลาทีน คืออะไรแล้วคีโตเรากินได้ไหม

ช่วงนี้วงการน้ำตาลทางเลือกคึกคักมากเลยทีเดียว มีน้ำตาลหน้าตาใหม่ๆ ออกมาให้เลือกซื้อมากมาย มีตัวนึงที่เพื่อนๆ ถามเข้ามาหลายคนแล้วว่าคีโตใช้ได้ไหม เราลองมาดูพร้อมๆ กัน

เจ้าตัวที่เพื่อนๆ ถามมาชื่อว่าน้ำตาลพาลาทีน พลิกดูหลังกล่อง เค้าระบุว่ามีส่วนประกอบดังนี้
1. Isomaltulose ไอโซมอลทูโลส 99.75%
2. Sucralose ซูคราโลส 0.25%

Isomaltulose เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ผ่านกระบวนการจัดเรียงสายโมเลกุลของน้ำตาลขึ้นใหม่ ทำให้เป็นน้ำตาล Reducing Sugar..เอ่อ…..เริ่มยากแระสิ งั้นเราจะข้ามตรงจุดชื่อยากๆ พวกนี้ไปก่อนเน้อะ ใครสนใจลองไปคึกษาเพิ่มได้ อ่านทั้งปีก็ไม่หมด 😂

ข้อดีของ Isomaltulose คือเค้าสกัดมาจากธรรมชาติ มีรสหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายครึ่งนึงแต่รสชาติไม่ต่างจากน้ำตาลทราย ทนความร้อน เอาไปทำขนม เครื่องดื่มได้ตามปกติ ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ GI 32 ร่างกายจะค่อยๆ ดูดซึมไปใช้งาน ค่อยๆ ปลดปล่อยพลังงานให้กับร่างกาย อยู่ได้นานเป็นชั่วโมงๆ ….. อ่านถึงตรงนี้ ผู้ป่วยเบาหวานคงสบายใจได้ ช้านมีทางเลือกแว้ววววว

เอ๊ะ!!!! แล้วชาวคีโตเนี่ยนอย่างช้านล่ะ ใช้ได้ด้วยม๊ายยย… อ๊าย… อ๊ายยยย??????

Isomaltulose มีความต่างจากน้ำตาลคีโตอื่นๆ น้ำตาลคึโตจะไม่ถูกย่อย ไม่ถูกดูดซึมไปใช้เป็นพลังงาน เข้ามาแล้วก็ถูกขับออกไปทางปัสสาวะ (สร้างมูลค่าให้ฉี่ของเรา กิโลละหลายร้อยแหน่ะ) ในขณะที่ Isomaltulose เป็นกลูโคส+ฟรุกโตส ที่ถูกย่อยที่ลำไส้เล็ก และถูกดูดเข้ากระแสเลือด ไปใช้เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าเหลือใช้ก็สะสมตามกล้ามเนื้อและตับ (เหมือนน้ำตาลทรายปกตินั่นแหล่ะ)

Sucralose … อันนี้ไม่อธิบายแล้วนะ รู้ๆ กันอยู่แล้วเน้อะ

สรุป สรุป สรุป
จากข้อมูลข้างบน ส่วนตัวผู้เขียนเห็นว่าน้ำตาลทางเลือกนี้อาจไม่ค่อยเหมาะกับชาวคีโตเนี่ยนเท่าไหร่ ด้วยเหตุที่ว่ายังไงเค้าก็มีองค์ประกอบและการทำงานเหมือนน้ำตาลทราย…ที่ชาวคีโตเนี่ยนเราพยายามหลีกเลี่ยงกันใช่ไม๊ล่ะ

ส่วนใครจะใช้หรือไม่ พิจารณาดูนะแจ๊ะ

ไปแระ …. บัย บัยส์

เริ่มกินคีโตมาตั้งแต่ปี 2017 เริ่มสร้างสรรอาหารและขนมที่คีโตกินได้ แจกจ่ายมาตั้งแต่ช่วงนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้สูตรต่างๆยังคงหมุนเวียนส่งต่อกันอยู่เสมอๆ