fbpx

การอ่านค่าผลเลือดที่แสดงความเสี่ยงต่อโรค NCDS (รุ่นทดลอง alpha 2)

โปรแกรมนี้เป็นเพียงการคำนวนตามสูตรเท่านั้น การวินิจฉัยควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ผู้พัฒนาโปรแกรมไม่สามารถบ่งชี้อาการของโรค หรือทำการรักษาใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ผลที่ได้เพื่อสำหรับประมาณการเท่านั้น กรุณาอย่าหยุดยาหรือรักษาอาการใดๆด้วยตัวท่านเอง โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง… เฮา บ่เกี่ยวเด้อ

คำอธิบาย

แม้หลายคนจะกินคีโตเพื่อลดน้ำหนัก แต่แน่นอนว่า ร่างกายที่มีสุขภาพดี เราจะดูแค่รูปร่างไม่ได้ แน่นอนว่าอย่างน้อยๆมันก็เป็นขั้นแรกที่จะพิจารณาเพราะดูได้จากภายนอก เหมารวมแล้วคนที่น้ำหนักเกินมีไขมันส่วนเกินมาก ย่อมแสดงถึงสุขภาพไม่ดีได้ แต่คุณมั่นใจได้อย่างไรว่าสุขภาพดีจริงๆ ในยุคสมัยนี้ก็คงหนีไม่พ้นการตรวจสุขภาพ การตรวจเลือดเข้าแลป เอาข้อมูลมาวิเคราะห์กัน

ด้วยโภชนาการแบบคีโต ประกอบกับข้อมูลการอัพเดททางการแพทย์ที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การอ่านค่าผลเลือดที่ชาวคีโตไปตรวจมานั้น ค่อนข้างจะมีความแตกต่างกับความเชื่อเดิมๆอยู่บ้างพอสมควร
ทำให้ในบางครั้งการตรวจสุขภาพอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างแพทย์กับเราเอง ดังนั้นเมื่อแนวทางไม่ตรงกัน ส่วนตัวแล้วไม่แนะนำให้ต่อล้อต่อเถียงกันครับ รับฟังความเห็นของแพทย์ แล้วนำกลับมาพิจารณาควบคู่กับที่เราศึกษามา แต่ถ้าเจอแพทย์ที่ไม่รับฟัง ก็แนะนำให้เปลี่ยนแพทย์ที่ปรึกษา เลือกที่รู้แนวทางของคีโต โลว์คาร์บครับ สมัยนี้มีเยอะแล้วครับ

ทีนี้ถ้าจะให้ลงลึกๆถึงที่มาที่ไป เพื่อให้มั่นใจ เพื่อให้ยืนยันว่าไม่ผิดแปลกต่อสุขภาพจริงๆ หรือแต่ละตัวมันคืออะไรทำงานยังไง ตรงอะไรพวกนี้เดี๋ยวผมจะแปะลิงค์ของแพทย์ไว้ด้านจะท้ายดีกว่าครับ ให้หมอพูดดีว่าผมพูด 5555

สำหรับทางนี้ผมจะอธิบายวิธีดูค่าเลือด ให้เป็นภาษาแบบง่ายๆ สรุปๆความ ให้เอาไว้อ้างอิงเวลาที่ได้ผลเลือดมา เราจะได้พออ่านคร่าวๆเพื่อดูว่าสุขภาพเราเป็นอย่างไรบ้าง ตัวเลขพวกนี้ก็เหมือนกับเกณฑ์ที่ควรเป็น แต่ถ้าใครห่างจากเกณฑ์มาก สิ่งแรกที่ต้องทำเลยคือ เทียบกับคราวก่อนว่าดีขึ้นไหม ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเท่าเดิม ต้องกลับมาตรวจสอบตัวเองแล้วว่าพลาดอะไรไปตรงไหน ทำไมค่าเลือดจึงไม่ดีขึ้น

  1. สิ่งที่ต้องตรวจ (ใครรู้แล้ว ข้ามไปตอน2 ได้เลย)
    โดยรวมๆแล้วเวลาไปตรวจเลือด เราจะได้ตรวจในไอเท็มสุดฮิตอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งที่ชาวคีโตเราใช้ดูบ่อยๆก็จะมีตามนี้ครับ ตอนเดินไปขอตรวจเลือดก็เช็ครายการได้เลยว่ามี รายการเหล่านี้ด้วยหรือไม่
  • FBS (Fasting Blood Sugar) หรือ ระดับน้ำตาลในเลือดในระยะอดอาหาร ปกติอยู่ที่ 70-100
  • Cholesterol หรือ คลอเรสเตอรอล ไม่ต้องสนใจมาก ร่างกายต้องการคลอเรสเตอรอล ความรู้ใหม่ ไม่มีใครกลัวแล้ว 
  • Triglyceride หรือ ไตรกลีเซอร์ไรด์ ตัวนี้เบื้องต้นเลยที่คีโตควรได้คือ ต่ำกว่า 100
  • HDL หรือ (High Density Lipoprotein) สูงคือดี
  • LDL หรือ (Low Density Lipoprotein) ตัวนี้ขอรณรงค์ให้เลิกเรียก ไขมันเลวได้แล้ว เชยชะมัดเลยนะครับถ้ายังเรียกไขมันเลว ยุคใหม่แล้ว ตัวนี้ต่ำไม่ใช่ว่าจะดี (ตัวอย่างในเพจหมอป๊อบ ชัดมากมีคนไข้ได้ระดับ LDL ต่ำตามอุดิมคติของยุคเก่า แต่ต้องแลกมาด้วยค่าน้ำตาลสะสมระดับ 10.0)

สิ่งที่ถ้าตรวจมาด้วยเลยได้ก็ดี
ถ้ามีความสามารถจ่ายเพิ่มเติม option ได้ อยากแนะนำให้ตรวจเพิ่ม 2 ตัวนี้ครับ

  • HbA1c หรือ Hemoglobin A1C เป็น ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา
  • HS-CRP (High Sensitivity C-Reactive Protein) เป็นการตรวจหาว่ามีการอักเสบในร่างกายเพียงใด เป็นโปรตีนที่มีระดับสูงขึ้นเมื่อร่างกายเกิดการอักเสบ

สิ่งที่ไม่ต้องตรวจก็ได้
ถ้าเอาแบบอยากสนุกอยากลงลึกยิ่งกว่านี้เข้าไปอีก ให้ตรวจ (แน่นอนว่าเสียเงินเพิ่มอีกนะ)

  • Fasting Insulin (mgDl)  ระดับอินซูลินในระยะอดอาหาร ตัวนี้อธิบายเพิ่มนิดนึง เพราะปกติไม่ค่อยตรวจกัน คือ อย่างที่เรารู้กันครับถ้าร่างกายเริ่มมีปัญหา ตับอ่อนจะทำการสร้างอินซูลินออกมามากขึ้นกว่าปกติเพื่อคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

ซึ่งข้อด้อยของค่านี้เดี่ยวๆคือ มันบ่งชี้ได้เฉพาะการดื้นอินซุลินที่ตับเท่านั้น แต่ไม่ได้บ่งชี้ถึงการดื้ออินซุลินที่กล้ามเนื้อ และ ไม่สามารถใช้ในคนที่เป็นเบาหวานได้โดยเฉพาะถ้าเป็นมานานแล้ว แต่ไม่ต้องสงสัยว่า งั้นแล้วแนะนำให้ตรวจมาทำไมวะ คือ เราจะนำค่านี้มาคำนวนต่อครับ เดี๋ยวลองเลื่อนลงไปดูวิธีการคำนวนอีกทีนะ

2.มาเข้าสู่การคำนวนกัน  
เตรียมเครื่องคิดเลขไว้เลยนะครับ ถ้าไม่สะดวกกด สามารถคลิกไปที่ https://siripun.com/ncdcal/ มีไว้ให้บริการฟรีๆ ผมเขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อใช้เอง เลยคิดว่าแบ่งเพื่อนๆใช้ด้วยเลยแล้วกัน ใครเจอผิดเจอพลาดอะไร ทักมาได้นะครับ เผื่อว่าผมจะอ๊องๆ ตอนเขียนโปรแกรม

ค่าที่เราจะใช้ดูเป็นหลักๆ มีไม่มาก เพราะเราจะเน้นดูที่ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาของผนังหลอดเลือด เพราะมันคือปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรค NCDs

ในส่วนที่1 เราใช้ตัวเลขจากที่ตรวจมาที่เขียนไว้ด้านบนนะครับ

Triglyceride หารด้วย HDL
(Triglyceride / HDL)
ค่าที่ได้ไม่ควรเกิน 2.0 (ในระดับเยี่ยมยอดคือ น้อยกว่า 1.0
ถ้าค่าของตัวนี้สูง จะมีความสัมพันธ์ต่อการดื้ออินซุลิน

FBS (Fasting Blood Sugar)
ตรงนี้จริงๆแล้วมันจะขึ้นอยู่กับเวลาที่ตรวจด้วย  ค่าปกติไม่ควรเกิน 100
แต่ถ้าตอนเช้าๆจะมีปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Dawn phenomenon ทำให้ค่าน้ำตาลสูง เราจึงจะดูที่ค่าของ HbA1c มากกว่า 

Cholesterol ลบ LDL ลบ HDL
(Cholesterol – LDL – HDL)
น้อยกว่า 17mg%  = เยี่ยมมาก
18-23mg% =OK
24-29mg% =ควรระวัง
มากกว่า 30mg% =ไม่ดี
จะได้ค่าที่เรียกว่า RC (Remnant Cholesterol) กรณี  RC สูงหมายความว่ามีภาวะการดื้อต่ออินซูลิน

ในส่วนที่ 2 ที่ถ้าตรวจเพิ่มได้ ค่าของการตรวจควรเป็นประมาณนี้ครับ

HbA1c
ค่าน้ำตาลสะสมควรอยู่ที่ ไม่ควรเกิน 5.70 

HS-CRP
ค่าการอักเสบของร่างกาย ไม่ควรเกิน 1.0 (ในระดับที่ยอดเยี่ยมคือ ใกล้ 0 ที่สุด)


ในส่วนที่ 3 ตัวที่ตรวจพิเศษ Fasting insulin เราจะมาใช้ตรงนี้ครับ

ให้เราใช้ FBS (Fasting Blood Sugar) คูณ Fasting Insulin แล้วหารด้วย 405
เขียนเป็นสูตรคณิตศาสตร์ว่า
FBS (Fasting Blood Sugar) X Fasting Insulin / 405
ค่าที่ได้ ไม่ควรเกิน 2.0 (ในระดับที่ยอดเยี่ยมคือ ต่ำกว่า 1.0 )

ส่วนที่ 3 นี้ที่เราคำนวนนี้คือ HOMA-IR หรือ Homeostasis model assessment for Insulin Resistance ใช้ค่าระดับอินซูลินและน้ำตาลกลูโคสในระยะอดน้ำอดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. มาคำนวณ ค่า HOMA-IR ที่สูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ มีโอกาสเกิดการดื้ออินซุลินในร่างกายเรา และเกี่ยวพันกับระบบการเผาผลาญที่มีปัญหาด้วย
** ค่า Fasting Insulin ที่สงสัยว่าอาจจะมีภาวะดื้ออินซูลิน คือ ค่า Fasting Insulin > 10.65 micro unit/mL (uU/mL) optimal range 4-9 uU/mL

Q&A

ผมพยายามรวบรวม บทความจากหมอป๊อบ มาไว้เพื่อให้เพื่อนๆได้ลองตามอ่านดูเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้ครับ

คลอเรสเตอรอล

Remnant Cholesterol 

โต้งเอง บุคคลที่พยายามเล่าเรื่องที่คนไม่รู้เรื่อง ให้รู้เรื่อง แม้บางทีคนที่อยากให้รู้เรื่อง จะอ่าน/ฟังแล้วไม่รู้เรื่องก็ตาม