การทดสอบน้ำตาลทราย ด้วยสารละลายเบเนดิกต์
วิทยาศาสตรประถมศึกษาปีที่ 6 ว่าด้วยเรื่องการทดสอบน้ำตาลด้วยสารละลายเบเนดิกต์ เป็นเรื่องที่สนุกสนานมากๆตอนเด็กๆ เราได้ทดลองกับสับปะรด แตงโม แอบเปิ้ล ทำไปกินไปสนุกสนาน
วันนี้เรามาดูกันว่า ที่มีคนสงสัยเรื่องน้ำตาลทราย ถ้าจะทดสอบด้วยสารละลายเบเนดิกต์ จะออกมาเป็นอย่างไร
การทดสอบเราจะใช้น้ำตาล 2 ประเภทคือ
- น้ำตาลทราย
- น้ำผึ้ง
วิธีการทดลอง
- น้ำน้ำตาลทราย และ น้ำผึ้ง ละลายกับน้ำเปล่า แยกขวดกัน
- หยดสารละลายเบเนดิกต์ ให้เห็นสีฟ้าชัดเจน
- ต้มสารละลายเบเนดิกต์ที่ผสมแล้ว ในลักษณะดับเบิ้ลบอยล์ หรือการวางภาชนะลงในน้ำร้อนอีกที
ผลการทดลอง
ตามทฤษฎีแล้วน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือไม่ก็รีดิวซ์ชูก้าบางตัว จะทำปฎิกิริยากับเบเนดิกซ์จนเปลี่ยนเป็นตะกอนอิฐสีส้มหรือแดง ซึ่งผลในคลิปเห็นได้ชัดว่า น้ำตาลทรายไม่ทำปฎิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ แต่น้ำผึ้งเรียกว่ามีปฎิกิริยาแทบจะทันทีที่ใส่ลงในน้ำร้อน
เหตุผล
เนื่องจากในน้ำผึ้งมีน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่เรียกว่า ฟรัคโตส ในขณะที่น้ำตาลทรายเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่เรียกว่า ซูโครส ซึ่งสารละลายเบเนดิกต์ไม่สามารถมีปฎิกิริยากับ ซูโครสได้ ดังนั้น การที่จะนำน้ำตาลทรายมาตรวจด้วยสารละลายเบเนดิกต์ จึงไม่สามารถกระทำได้ด้วยเหตุผลที่ว่า ซูโครส เป็นน้ำตาลไดแซคคาไรด์ เกิดจากน้ำตาล กลูโคส กับ ฟรุกโตส มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก แต่ซูโครสมีความพิเศษตรงที่ไม่มีหมู่ -OH เหลือไป reduce คิวพริกไอออน (Cu2+) ซูโครสจึงเป็นน้ำตาลที่ไม่รีดิวซ์ซึ่งไม่ทำปฏิกิริยากับเบเนดิกต์ ต่างจากแลคโตส น้ำตาลโมเลกุลคู่ที่รีดิวซ์มาจาก milk sugar สามารถแตกเป็นกลูโคสกับกาแลคโตสได้และมีโอกาสตรวจเจอด้วยเบเนดิกต์. . . โอเค จริงๆภาษาเอเลี่ยนนี่ ไม่ต้องรู้ก็ได้
หรือจะพูดเป็นภาษาง่ายๆคือ ซูโครส เป็นน้ำตาลที่มีรูปทรงทางเคมีที่พิเศษ ทำให้ตรวจด้วยสารละลายเบเนดิกต์ไม่ได้นั่นเอง
หากผู้บริโภคโภชนาการประเภทคีโตเจนิค ที่มีความซีเรียสเรื่องน้ำตาลหรือต้องการทราบว่าสินค้าที่ซื้อมามีน้ำตาลปลอมปนมาหรือไม่ วิธีการตรวจสอบที่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเชื่อถือได้คือการนำตัวอย่างสินค้า “เข้าตรวจแลป” เท่านั้น เพื่อความมั่นใจในตนเองและยุติธรรมกับผู้ผลิตสินค้าต่างๆ