มะเขือเทศ ทำไมควรทำให้สุก?
โดยทั่วไปไม่ค่อยเห็นเมนูที่ใช้มะเขือเทศปรุงสุกสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ที่เห็นก็จะกินดิบเคียงกับน้ำพริก ใช้ทำยำ ตำรวมในส้มตำ ทำเป็นน้ำผักปั่นกินตอนเช้า บลาๆๆๆๆ มะเขือเทศสุกที่เห็นก็มักมาในรูปซอสมะเขือเทศเลย มีบ้างที่ใส่ผักในเมนูผัดผัก ไข่ยัดไส้ สปาเก็ตตี้…..
นักโภชนาการแนะนำเรื่องการกินผักไว้ว่าผักบางชนิดมีประโยชน์สูงสุดตอนกินดิบ แต่บางอย่างก็ “ไม่ควร” กินดิบเพราะมีสารอันตราย แล้วมะเขือเทศล่ะเป็นอย่างไร??
มะเขือเทศ กินแล้วผิวสวยเพราะมี Vit C อันนี้ใครๆ ก็รู้ แต่ที่บางคนอาจยังไม่รู้ก็คือ น้อนมีสารคือไลโคปีนสู๊งงง เจ้าไลโคปีนนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เคลมว่าช่วยป้องกันโรครวมถึงมะเร็ง โรคหัวใจ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันผิวและผมจากรังสียูวีที่เป็นอันตราย
เจ้าไลโคปีนนี้ก็นอนอยู่ในมะเขือแหล่ะ แต่ผนังเซลล์ของเนื้อมะเขือแข็งแรงเกินกว่าที่ร่างกายจะย่อยแล้วดูดเอาไลโคปีนออกใช้ได้ง่าย เราต้องเอามะเขือเทศไปโดนความร้อนเสียก่อน ความร้อนจะช่วยให้มะเขือเทศแตกตัวได้ง่ายและร่างกายย่อย+ดูดซึมไลโคปีนไปใช้ได้ดีขึ้นมากกก ก.ไก่สิบล้านตัว
จากวิจัยของ Cornell U. ที่ทดลองเอามะเขือเทศไปทำสุกที่อุณหภูมิ 80 c. จับเวลาที่ 2/15/30 นาที พบว่า
Vit C. ลดลง 10%/15%/29% ตามลำดับเวลา
ทรานซ์ไลโคปีน เพิ่มขึ้น 54%/171%/164%
สารต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มขึ้น 28%/34%/62%
นั่นคือยิ่งโดนความร้อน วิตามินก็จะหายไป(ตามคาด) แต่ไลโคปีนและสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นมากกกกกกกกกกก ไม่ใช่แค่หลักสิบ%นะ แต่เป็นหลักร้อย%…ไม่ธรรมดานะนายจ๋า
ยังมีอีกหลายผักที่เป็นแบบนี้ กินดิบอ่ะก็ดี กินสุกก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก ไว้จะหามาเหลาให้ฟังอีกนะคะ
สรุป……ที่ร่ายยาวมานี้คือจะมาเล่าว่า หากอยากกินมะเขือเทศให้ได้ประโยชน์สูงสุดก็ควรกินดิบสลับกินสุก หมุนเวียนไปค่ะ อย่ากินอะไรซ้ำๆ จำเจ
#siripun #เอ๋เอง #ตำรับเอ๋