“อินซูลินกระตุ้นเมื่อไหร่ หลุดเมื่อนั้นค่ะ” ประโยคนี้จริงหรือ??
“อินซูลินกระตุ้นเมื่อไหร่ หลุดเมื่อนั้นค่ะ” เป็นประโยคตีความเข้าข้างตัวเองอย่างสิ้นเชิง
คือคนแม่งตีความเข้าข้างตนกันเละเทะไปหมดเลย คุณเล่นท่องจำกระพี้กันจนไม่ได้เริ่มต้นตั้งแต่นิยามหรือ definition ของแต่ละคำเลย แล้วก็จำๆกันไปผิดความไปหมด เวลาจะศึกษาหรือพูดจากันให้เข้าใจ นักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มทุกอย่างที่ นิยาม ต้องตรงกันก่อน
คุณรู้ไหมครับว่าร่างกายเราไม่ได้อยู่ในภาวะคีโตสิสตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีหน้าไหนซักคนครับที่อยู่ในคีโตสิส 24 ชั่วโมง ไม่ใช่ว่าไม่มีคนเก่ง แต่ระบบของร่างกายมันเป็นอย่างนั้นครับ กรุณาทำความเข้าใจกระบวนการคีโตสิสเสียใหม่ ก่อนที่จะเลยเถิดเพี้ยนกระบือรื้อไปกว่านี้
หลักของมันคือไม่สปอยร่างกายให้กินคาร์บสูงบ่อยๆจนร่างกายมันไม่ยอมสลับไปใช้พลังงานไขมัน เพราะอะไร เพราะว่าพลังงานกลูโคสมันใช้ง่ายสะดวกร่างกายมันก็ชอบ คีโตคล้ายๆว่าบังคับไม่ให้กลูโคสมากเกินไป ทำให้ร่างกายจำนนต้องไปใช้ไขมัน ดังนั้นถ้าเรากินคาร์บสูงๆบ่อยครั้งเข้า ร่างกายมันก็จะจำว่าเดี๋ยวก็มีคาร์บอีก ฉันไม่ยอมใช้ไขมันหรอกใช้ยาก รอคาร์บดีกว่า ประมาณนี้ครับ
คุณไม่มีทางกดอินซุลินไม่ให้หลั่งออกมาได้เลย เพราะแค่คุณคิด ได้กลิ่น มองเห็นความน่ากินของอาหาร หรือมีอะไรลงท้อง มันก็ออกมาแล้ว เว้นแต่ว่าคุณตายแล้วอันนั้นไม่ว่ากันยอมแพ้ครับ
หน้าที่ของอินซุลิน ฉบับภาษาบ้านๆ #ไม่ได้เรียนมา
อินซูลิน มีผลต่อเซลล์เกือบทุกชนิดในร่างกาย โดยมีอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญคือ ตับ กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ไขมัน อินซูลินได้ฉายาว่าฮอร์โมนแห่งความอุดมสมบูรณ์ (hormone of abundance) เป็นฮอร์โมนที่ส่งเสริมให้มีการสะสมกลูโคส กรดไขมันและกรดอะมิโนไว้ภายในเซลล์ต่างๆ และสำรองไว้ใช้ระหว่างช่วงมื้ออาหารและเมื่อร่างกายขาดแคลน ทำให้ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด มีค่าปกติ ขีดเส้นคำว่า ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมีค่าปกติ
อีกทั้ง ส่งเสริมการขนถ่ายกรดอะมิโนเข้าเซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ตับ ทำให้มีการสังเคราะห์โปรตีนมากขึ้น (proteogenesis) และยับยั้งการสลายตัวของกรดอะมิโนเป็นน้ำตาลกลูโคส
ซึ่งการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือทำให้มันไม่ออกมานั้น ส่งผลให้กลูโคสเข้าเซลล์เนื้อเยื่อไม่ได้ ทำให้ร่างกายเสมือนขาด อาหาร ตับจึงสลายไกลโคเจนมายังหลอดเลือดทำให้ระดับน้ำตาลยิ่งสูงมากขึ้น พอระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นก็เข้าสู่ภาวะเลือดเป็นกรด(่คีโตเอซิโดสิส คนละคำกับ คีโตสิส นะครับ) ถ้าตรวจเยี่ยวก็ตีม่วงเข้มเต็มพิกัด เคยกลัวกันไม่ใช่หรือครับ
คุณ Dare พอที่จะรับประกันไหมว่าไดเอ็ทคุณ zero carbs อย่างสมบูรณ์ ไม่มีการกระตุ้นอินซุลิน ถ้ากล้าการันตี คุณจะจัดการกับน้ำตาลในเลือดอย่างไร??? ถ้าคุณคาดหวังไม่ให้มีการหลั่งอินซุลิน ภายใต้คำว่า “อินซูลินกระตุ้นเมื่อไหร่ หลุดเมื่อนั้นค่ะ ชั้นเคร่งมาก ไม่มีทางกินอะไรที่กระตุ้นอินซุลิน gi ต้อง 0 เท่านั้น”
ที่สำคัญคือ สมมติว่าคุณกล้าการันตีว่าคุณแม่ง Zero Carbs แน่ๆ งั้นผมทิ้งไพ่ให้อีกใบ คือ การที่คุณต้องการทำให้ไม่มีอินซุลินเลย คือการบังคับตัวเองให้จำลองการเป็น เบาหวานประเภท1 วกกลับไปที่เลือดเป็นกรดอีกเช่นเคย ขนาดคนเบาหวานประเภท1 ยังต้องฉีดอินซุลินเลยครับ
กลับไปที่นิยามของการควบคุมอินซุลินของคนคีโตกันใหม่นะครับ
เราป้องกันการดื้ออินซุลิน เราป้องกันสิ่งที่เรียกว่า Insulin Resistance หรือภาพรวมคือ Metabolic Syndrome ภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติไป ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันสูง ไม่ใช่จะกดอินซุลินไม่ให้ออกมา
แล้วก็ต้องมาพูดกราฟนี้อีกเป็นรอบที่ล้าน
กราฟนี้เพื่อทำความเข้าใจว่า เราพยายามไม่ให้อินซุลินออกมาพร่ำเพรื่อ มีขึ้นแล้วมีลงในวงจรของมัน เพื่อให้ฮอร์โมนส์กลูคากอน ออกมาเผาไขมันบ้าง และการที่อินซุลินไม่ออกมาพร่ำเพรื่อ ก็ทำให้ลดการดื้ออินซุลินได้ เราควบคุมให้มันทำงานปกติ เลิกตามใจปาก นี่ต่างหากครับที่เรียกว่า “การควบคุมระดับและระยะเวลาในการหลั่งอินซุลิน ไม่ให้อินซุลินหลั่ง บ่อยเกินไป” จนแม่งเพี้ยนเหลือแค่ “ควบคุมไม่ให้หลั่งอินซุลิน” สั้นเอี้ยๆและไม่เหลือใจความเดิมเลย
นี่คือที่มาของคำแนะนำที่ว่า กินได้แนะนำให้กินขณะ feed คือหลังกินอาหารร่างกายจะหลั่งอินซุลินชุดใหญ่ออกมาอยู่แล้ว ต่อให้เป็นอาหารคีโตก็เหอะ การขอพ่วงขอเหน็บบางอย่างไปในมื้อจึงเป็นทางออกของเราได้ครับ
ขอจบด้วย Quote สวยๆครับ
“โชคดีแล้วที่คุณหลั่งอินซุลินได้ ไม่งั้นคุณก็ต้องตายไปแล้ว”
พี่หนึ่ง KetoDaddy
#ไม่ได้เรียนมา #PirateKeto #อิหยังวะคีโต