พอดนี้ สิริพรรณ podcast พูดคุยเรื่องราวทั่วไปทั้งสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ และอาหารการกิน เปิดกว้างทุกเรื่องราวที่เราคิดเอาเองว่าน่าสนใจ แล้วอยากมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเหมือนเพื่อนคุยระหว่างทาง ระหว่างวิ่ง หรือแม้แต่ระหว่าง leg day เชิญสดับและรับฟังเพื่อความบันเทิง
การศึกษาเรื่องตรรกะวิบัติ ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์การสื่อสารได้ว่า มีความน่าเชื่อถือหรือสมเหตุสมผลเพียงใด Ad verecundiam เป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ตรรกะ มันคืออะไรไปฟังกัน
logical fallacies 1 : Ad verecundiam
วันสบายๆขอมาเล่าเรื่องนึงให้อ่านกันครับ เป็นเรื่องที่ผมศึกษามาระยะหนึ่งคู่ขนานกับคีโต อย่างว่านะ ไม่ได้เรียนมา ก็ศึกษามาเล่าสู่กันฟัง แชร์กันนะครับ เป็นหลักการวิเคราะห์การสื่อสารอย่างนึง
logical fallacies เป็นพื้นฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง มีอยู่หลายข้อมากๆครับ มันไม่ใช่การท่องจำว่าโน่นนี่นั่น แต่เป็นหมวดหมู่การสื่อสาร ที่ให้เราคิดวิเคราะห์ว่าสมเหตุสมผลเพียงใด อยู่ในร่องในรอยที่ควรเพียงใด
การอยู่ในวงคีโต ก็คือวงของวิทยาศาสตร์นั่นแหละครับ ดังนั้นการสนทนาในวงคีโต มันก็ต้อง base on หลักคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ นั่นหมายถึงต้องมีการแลกเปลี่ยนเหตุผลและตรรกะกัน โดยโฟกัสที่เนื้อหา ซึ่ง logical fallacies เป็นหนึ่งในแนวคิดทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานจิตใจและระดับความคิด
สิ่งที่ยากในเรื่องนี้คือ คนจะยอมรับตัวเองแค่ไหน เปิดใจกว้างแค่ไหน ที่จะยอมรับว่าตัวเองมีความผิดพลาด ซึ่งวิถีทางของวิทยาศาสตร์ย่อมต้องเปิดใจยอมรับสิ่งค้นพบใหม่อยู่แล้ว
ส่วนหนึ่งของ logical fallacies หรือ ตรรกะวินาศ หรือ ตรรกะวิบัติ ที่เราเคยได้ยินกันนั้น เปอร์เซนต์ส่วนมาก มาจากการ ตะแบง คำว่าตะแบง ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “อาการที่พูดหรือเถียงเฉไฉหรือดันไปข้าง ๆ คู ๆ.” แต่ก็นะ คำว่า เปอร์เซนต์ส่วนมาก ย่อมไม่ได้หมายความว่าทั้งหมด เพราะบางครั้งเขาอาจไม่ได้ตะแบง แต่แม่งไม่รู้เลยจริงๆก็มี
ตรรกะวิบัติ จึงสะท้อนความเป็นตัวตนได้ดี ดังนั้นไม่ว่าจะหน้าฉากหรือหลังม่าน สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ฉับพลันคือ ตรรกะวิบัติ
สิ่งนี้เลยเป็นเครื่องมือที่ดี ในการตรวจสอบคำสอนของครู กูรู ผู้รู้ ต่างๆว่าสมเหตุสมผลเพียงใด และหากว่ามันผิดจะยอมรับแล้วนำสิ่งใหม่ไปอัพเดทได้ไหม แบบเดียวกับที่เวลามีวิจัยใหม่มา เจ้าของวิจัยเก่ามองเห็นข้อผิดพลาดและยอมรับวิจัยใหม่ได้ไหม ถ้าได้มันก็คือวิถีทางของวิทยาศาสตร์นั่นเองครับ
จำได้ไหมว่า ครั้งนึงเราเคยรังเกียจไขมัน จนมารับรู้ข้อมูลชุดใหม่เกี่ยวกับคีโต และคีโตก็ช่างมีข้อมูลที่มีเหตุ มีผลสนับสนุน ลบล้างความเชื่อเก่าๆได้ดี นี่หละครับ ความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้ทรู แต่หลายๆครั้งก็อดสงสารใจไม่ได้ว่า พอคีโตสร้างผลประโยชน์ได้ แล้วการอัพเกรดคีโต 2.0 กลับกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ขึ้นมา
ในคนๆนึงสามารถมีตรรกะวิบัติได้หลายข้อ
อ่ะ วันนี้เรามาดูตัวอย่างข้อนึงจากหลายๆข้อ ของ ตรรกะวิบัติ กันครับ
Ad verecundiam หรือ การอ้างความเป็นผู้รู้
เป็นการเคลมอ้างให้เชื่อเพราะว่า คนพูดมีเกียรติ มียศ มีความน่าเชื่อถือ
พูดง่ายๆก็คือ การที่เราเชื่อเพียงเพราะว่าเขาเป็นใคร นั่นเองครับ
เคยเห็น meme ในเนทบ่อยๆใช่ไหมครับที่วา
“เชื่อผมสิ ผมเป็นหมอ” บางหมอก็ไม่เกี่ยวสาขา บางหมอก็แค่เชี่ยวชาญสาขานั้นแต่ประเด็นนั้นมันใช่ไหม
“ต้องทำแบบนี้สิ ฉันเป็นแม่เธอนะ” ไม่ได้ให้เหตุผล
“ถ้าไม่เชื่อคนที่เรียนมา แล้วจะไปเชื่อใครคนขายข้าวมันไก่เหรอ??” คนเรียนมาไม่ได้หมายความว่า คำพูดนั้นจะถูกต้อง
“ต้องเชื่อเขาสิ เขาจบดร.มา” แล้วใหญ่เลย ดร.มีหลายสาขา จะสาขาจิตวิทยา พูดเรื่องชีวะ ก็ไม่ใช่เหตุผลต้องเชื่อกัน
หรือแม้แต่ในวงคีโต
“เนยมีนมผงกินไม่ได้นะ ต้องเชื่อสิ กูรูบอกไว้เค้าเปิดเทรนคนสำเร็จมาเยอะ” ชัดเลย กูรูอิหยังวะก็เยอะ
“จะกินเครื่องปรุงไม่คีโตไม่ได้นะผลเลือดพัง กูรูบอกไว้ เค้าเขียนบทความคีโตเยอะแยะเลย” ไม่มีอะไรมาสนับสนุน
หรือแม้แต่เฮียเอง
“นมแพะกินได้ เฮียบอกไว้ เฮียเก่ง” เฮียแม่งโง่จะตาย เชื่อได้ไงวะ 5555
เป็นการดึงให้เชื่อด้วยเครดิตตัวเอง เชื่อด้วยแค่ว่าเขาเป็นใคร เชื่อแค่ว่าเขาเรียนอะไรมา แทนที่จะเชื่อด้วยสิ่งที่เขาพูดว่าสิ่งนั้น มีเหตุ มีผล มีข้อมูลสนับสนุน เพื่อให้เราเอาข้อมูลเหล่านั้น มากลั่นกรองอีกทีนึง ว่าข้อมูลเหล่านั้นไปเข้าข่าย ตรรกะวิบัติอะไรอีกไหม ก่อนที่จะเชื่อ
แค่การเชื่อเพราะว่าเขาเป็นใครก็ผิดแล้ว ต่อให้เป็นคำแนะนำเรื่องสุขภาพใดๆ คนที่เคยถูกเรื่องนึงอาจจะไปผิดอีกเรื่องนึงก็ได้ คนมักจะเชื่อว่าคนที่เก่งเรื่องนึง มักจะเก่งในเรื่องอื่นอีกหลายๆเรื่อง สิ่งนี้จะทับซ้อนกับทางจิตวิทยาที่ว่า ฮาโลเอฟเฟค หรือ เฮ๊ากวงความน่าเชื่อถือบางอย่าง
วิธีแก้
หากจะปรับปรุงตัวให้ไม่อยู่ในขอบข่ายตรรกะวิบัติหัวข้อ Ad verecundiam นั้นเราต้องหาสิ่งที่ตรงกับผลสรุปจริงๆมาสนับสนุนคำพูดเช่น
-นมแพะ มีสารอาหารวิตามินที่ดี การได้รับวิตามินครบถ้วนพอเหมาะทำให้ร่างกาย ฮอร์โมนส์ ทำงานเป็นปกติ
-นมแพะ คาร์บไม่สูงเท่ากับนมวัวแถมใกล้เคียงกับวิปครีม ซึ่งคาร์บในนมและวิป เป็นน้ำตาลตัวเดียวกัน คีโตกินคาร์บได้ 20กรัม
-นมแพะ 50ml ทำลาเต้อร่อยๆได้สบายๆ
“ดังนั้น” คีโตสามารถนำนมแพะ 50ml มาทำลาเต้ได้ ถือว่าเป็นวัตถุดิบคีโตแท้ เช่นเดียวกับวิปครีม
การอ้างเหตุผลแบบนี้ไม่มี Ad verecundiam เพราะเหตุสัมพันธ์กับผล ครับ หลังจากนั้นถ้าจะนำเหตุไปเข้าแลปเพื่อตรวจเช็คความถูกต้องในระดับ 0.00000001% อะไรก็ว่ากันไป
เรื่องนี้มันจะทับซ้อนกันหลากหลายหน่อยครับ แต่ก็นั่นแหละ ฝึกฝนบ่อยๆมันจะทำให้เรากลั่นความเชื่อได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์กว่านะ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า บทความต่างๆที่ผมเขียนนั้น หลายคนจะคิดว่าผมด่าแหลก
ใช่ครับผมด่าแหลก ฮาๆๆๆ ขออภัย เป็นคนใจดีที่ปากหมาและขี้รำคาญครับ
แต่ที่ผมด่านั้นมักจะเน้นในตรรกะที่วิบัติ ด่าการสั่งสอนที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ ด่าการสอนที่สมการบิดเบี้ยว ซ้ายได้ ขวาไม่ได้ โดยไม่แจงเหตุผลแต่เลือกที่จะเงียบๆงุดๆไป ทั้งหมดล้วนด่าด้วยเหตุผล ด่าในสิ่งที่เขาพูด
และพยายามถึงที่สุดที่จะไม่ตกไปอยุ่ในวงของ logical fallacies แต่ก็คงจะไม่สามารถควบคุมใจทุกคนได้ว่าจะต้องได้รับความโต้แย้งมาในแบบเดียวกัน ส่วนมากมักเจอคำโต้แย้งที่ใช้ตรรกะวิบัติไปซะงั้น หรือบางที เฮียเองก็อาจจะตรรกะวิบัติได้เช่นกัน
ในโมเมนต์ที่คนใช้ตรรกะวิบัตินี่ไม่ผิดนะครับ เพราะยังไงคนก็เป็นคน เพียงแต่ว่าพอรู้ตัวว่าตนเองใช้ตรรกะวิบัติแล้ว จะรู้ตัวจริงๆปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ นั่นต่างหากที่สำคัญครับ มิเช่นนั้นมันก็จะไปเกี่ยวพันกับอีกเรื่องนึง ว่าด้วยเรื่อง อีโก EGO อีกเช่นกัน เห็นมะ ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนพัวพัน ไม่ต่างกับฮอร์โมนส์ในร่างกาย
ถ้าคุณจับเจ่าแค่พลังงาน ละเลยสารอาหาร คุณก็พัง ถ้าคุณจับเจ่าแค่วัตถุดิบคีโตแท้100% คุณก็ทำให้ใช้ชีวิตลำบากโดยใช่เหตุ
ความเป็นวิทยาศาสตร์แขนงนี้ ความยากที่สุดคือ ตัวคนครับ ว่าจะเปิดใจ หรือ ใจกว้าง จริงแท้แค่ไหน มันยากเพราะส่วนมากแล้ว คนจะใจแคบ ครับ
โชคดีจริงๆเล้ยยยยยย ที่ไม่ได้เป็นกูรู
ฝึกฝนไปด้วยกันครับ แล้วโอกาสหน้าจะเอาตรรกะวิบัติข้ออื่นๆมาเล่าสู่กันฟังให้อีกครับ เฮียก็ไม่ได้เก่งเรื่องนี้นะ #ไม่ได้เรียนมา อย่าเชื่อเฮีย ขอร้อง ถ้าจะดีเรามาศึกษาไปพร้อมๆกันครับ