เบอร์เกอร์ชิ้นเดียวเอง
วันนี้เรามาดูความน่าทึ่งในอุตสาหกรรมอาหารกันครับ ความเป๊ะความสม่ำเสมอในรสชาติหน้าตา เป็นเรื่องที่โฮมเมดไม่เคยทำได้ เต็มที่สุดก็คือรสชาติและหน้าตา ที่ใกล้เคียงกันแบบไม่ได้หลุดขนาดหน้ามือกับฝ่าเท้า อันนั้นถือว่าเก่งแล้วครับ
ในระบบอุตสาหกรรมอาหาร เขาต้องควบคุมทุกอย่างในไลน์ผลิต นั่นเป็นอีกเหตุผลนึง ที่เราสามารถติดฉลากโภชนาการให้กับอาหารอุตสาหกรรมได้ ในขณะที่เราไม่สามารถติดฉลากโภชนาการให้อาหารธรรมชาติได้
เซย์ซะว่า อ่ะ เบอร์เกอร์ชิ้นนึง ดั้งเดิมนั้นเราก็จะอบขนมปังขึ้นมาจากแป้งที่เกิดจากการโม่ นำมาอบด้วยเตาทั่วไป เนือเราก็สับผสมกันระหว่างส่วนเนื้อและส่วนมัน จะสูตร 70-30 80-20 อะไรก็แล้วแต่สะดวก ปรุงรสต่างๆนาๆ ไม่ว่าจะเกลือ พริกไทย ไข่ขาว จี่เหนือบนกระทะที่มีเนย ใส่ผักสดหลังบ้าน
ทีนี้เราลองเทียบดูกับ เบอร์เกอร์ อุตสาหกรรมในร้านสะดวกซื้อด้านล่างนี้ครับ มาดูเป็นความรู้กันว่า เราได้ วัตถุเจือปนอาหารอะไรบ้าง
ทีนี้เราเคยจำ meme อันนึงได้ไหมครับ ที่เขาเอาเบอร์เกอร์ มาเทียบกับ เนื้อ แป้ง ผัก ว่าทำไมเบอร์เกอร์จัดเป็นอาหารที่แย่ ในขณะที่วัตถุดิบคือของปกติแค่เอามารวมกันในจานเดียว ทำไมแย่??
เพราะ meme นั้นเอาของคนละบริบทมาเทียบกัน ถ้าเป็นเบอรเกอร์ดั้งเดิมแบบที่เล่าตอนแรกมันไม่แย่หรอกครับ แต่แบบอุตสาหกรรมจ๋า มันมีสารพัดสารจนต้องตั้งคำถาม ว่าต้องใส่มาขนาดนั้นเลยมั๊ย
ผมถึง cheer up แม่ค้าคีโตเสมอๆว่าทำให้ดี เน้นคุณภาพ ความสะอาด สุขลักษณะ และ ใส่ความจริงใจไปเยอะๆ โดยเฉพาะในฉลาก ค่อยๆทำค่อยๆหัด อย่าเลือกแค่ my fitness pal แล้วกดเอาวัตถุดิบคาร์บต่ำๆ ให้มองความเป็นจริงไว้ด้วย นับวันลูกค้ายิ่งมองออกมากขึ้น ขนมคาร์บ 0 มันไม่มีในโลกหรอกครับ และยิ่งวงการคีโต ที่มีสิทธิ์ที่จะรู้คาร์บแม้จะ 0.5 หรือ 1 ก็ตาม มันน้อยมาก แต่เราพูดถึงสิทธ์ในการรู้ ดังนั้นคำถามคือ เราเคารพสิทธิ์ให้ลูกค้าหรือเปล่า หรือเราเป็น 1 ในคนที่ทำเหมือนอุตสาหกรรม เราบอกข้อมูลลูกค้าเราแบบนั้นหรือ?
และสำหรับอาหารอุตสาหกรรม เราก็ไม่ได้มีหน้าที่ไปโกรธโมโห อะไรธุรกิจเขาเลยนะครับ ทุกอย่างมันมีตลาดของมัน โอเคเราช่วยกันสร้างโลกที่เราอยากมีได้ แต่ไม่ใช่ว่า โลกจะต้องเป็นอย่างที่เราอยากเป็น เราต้องโตพอที่จะเรียนรู้โลก ว่าโลกมันเป็นยังไง
ตัวเราเองมีหน้าที่ตั้งคำถาม หาคำตอบ เชื่อจากข้อพิสูจน์ข้อมูลเท่าที่หาได้ ไม่ใช่เชื่อเพราะเขาเขียน เขาบอก หรือ ใครๆก็ทำกัน
เรามีหน้าที่รู้ เพื่อเลือก และเราควรเลิกใช้ชีวิตแบบโทษคนอื่นหรือให้คนอื่นปรับอะไรเพื่อเราครับ
โตแล้ว เลิกงอแง
แถมภาคอธิบายแต่ละสารให้ครับ เพื่อความบันเทิง 55555
สีธรรมชาติ
INS 150a CARAMEL I – PLAIN CARAMEL
INS 150c CARAMEL III – AMMONIA CARAMEL
INS 150d CARAMEL IV – SULFITE AMMONIA CARAMEL
INS 160a(ii) CAROTENES, BETA-, VEGETABLE
INS 160b(ii) ANNATTO EXTRACTS, NORBIXIN-BASED
.
.
วัตถุกันเสีย
INS 202 POTASSIUM SORBATE
– สารกันเสีย (Preservative)
INS 211 SODIUM BENZOATE
– สารกันเสีย (Preservative)
INS 282 CALCIUM PROPIONATE
– สารกันเสีย (Preservative)
.
.
วัตถุเจือปนอาหาร
มอลโกเดกซ์ทรีน
INS 170(i) CALCIUM CARBONATE
– สารทำให้แน่น (Firming agent)
– สี (Colour)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– สารป้องกันการจับเป็นก้อน (Anticaking agent)
– สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
INS 223 SODIUM METABISULFITE
– สารกันเสีย (Preservative)
– สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
– สารฟอกสี (Bleaching agent)
– สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant)
INS 250 SODIUM NITRITE
– สารคงสภาพของสี (Colour retention agent)
– สารกันเสีย (Preservative)
INS 260 ACETIC ACID
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
– สารกันเสีย (Preservative)
INS 262(ii) Sodium diacetate
– สารช่วยจับอนุมูลโลหะ (Sequestrant)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
– สารกันเสีย (Preservative)
INS 263 CALCIUM ACETATE
– สารกันเสีย (Preservative)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
INS 270 LACTIC ACID, L-, D- and DL
สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
INS 300 ASCORBIC ACID, L
– สารควบคุมความเป็นกรด – สารควบคุมความเป็นกรด
INS 316 SODIUM ERYTHORBATE
สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant)
INS 319 TERTIARY BUTYLHYDROQUINONE
– สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant)
INS 322(i) LECITHIN
– สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
– สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant)
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
INS 325 SODIUM LACTATE
– สารให้ความข้นเหนียว (Thickener)
– สารทำให้เกิดความชุ่มชื้น (Humectant)
– เกลืออิมัลซิไฟอิ้งค์ (Emulsifying salt)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
– สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant)
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารเพิ่มปริมาณ (Bulking agent)
INS 330 CITRIC ACID
– สารคงสภาพของสี (Colour retention agent)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
– สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant)
– สารช่วยจับอนุมูลโลหะ (Sequestrant)
INS 331(iii) TRISODIUM CITRATE
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารช่วยจับอนุมูลโลหะ (Sequestrant)
– เกลืออิมัลซิไฟอิ้งค์ (Emulsifying salt)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
INS 385 CALCIUM DISODIUM ETHYLENEDIAMINETETRAACETATE
– สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant)
– สารกันเสีย (Preservative)
– สารคงสภาพของสี (Colour retention agent)
– สารช่วยจับอนุมูลโลหะ (Sequestrant)
INS 392 Rosemary extract
INS 412 GUAR GUM
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารให้ความข้นเหนียว (Thickener)
INS 415 XANTHAN GUM
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารทำให้เกิดฟอง (Foaming agent)
– สารให้ความข้นเหนียว (Thickener)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
INS 450(iii) TETRASODIUM DIPHOSPHATE
– สารทำให้เกิดความชุ่มชื้น (Humectant)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
– สารช่วยจับอนุมูลโลหะ (Sequestrant)
– สารช่วยให้ฟู (Raising agent)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– สารให้ความข้นเหนียว (Thickener)
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– เกลืออิมัลซิไฟอิ้งค์ (Emulsifying salt)
INS 451(i) PENTASODIUM TRIPHOSPHATE
– สารช่วยจับอนุมูลโลหะ (Sequestrant)
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– เกลืออิมัลซิไฟอิ้งค์ (Emulsifying salt)
– สารให้ความข้นเหนียว (Thickener)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– สารทำให้เกิดความชุ่มชื้น (Humectant)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
INS 471 MONO- AND DI-GLYCERIDES OF FATTY ACIDS
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารป้องกันการเกิดฟอง (Antifoaming agent)
INS 472e DIACETYLTARTARIC AND FATTY ACID ESTERS OF GLYCEROL
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– สารช่วยจับอนุมูลโลหะ (Sequestrant)
INS 477 PROPYLENE GLYCOL ESTERS OF FATTY ACIDS
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
INS 481(i) SODIUM STEAROYL LACTYLATE
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารทำให้เกิดฟอง (Foaming agent)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
INS 491 SORBITAN MONOSTEARATE
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
INS 516 CALCIUM SULFATE
– สารทำให้แน่น (Firming agent)
– สารช่วยจับอนุมูลโลหะ (Sequestrant)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
– สารควบคุมความเป็นกรด (Acidity regulator)
INS 535 SODIUM FERROCYANIDE
– สารป้องกันการจับเป็นก้อน (Anticaking agent)
INS 536 POTASSIUM FERROCYANIDE
– สารป้องกันการจับเป็นก้อน (Anticaking agent)
INS 551 SILICON DIOXIDE, AMORPHOUS
– สารป้องกันการเกิดฟอง (Antifoaming agent)
– สารช่วยทำละลาย หรือช่วยพา (Carrier)
– สารป้องกันการจับเป็นก้อน (Anticaking agent)
INS 927a AZODICARBONAMIDE
– สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
INS 928 BENZOYL PEROXIDE
– สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
– สารกันเสีย (Preservative)
– สารฟอกสี (Bleaching agent)
INS 941 NITROGEN
– สารทำให้เกิดฟอง (Foaming agent)
– ก๊าซที่ช่วยในการเก็บรักษาอาหาร (Packaging gas)
– ก๊าซที่ใช้ขับดัน (Propellant)
INS 1100(i) ALPHA AMYLASE FROM ASPERGILLUS ORYZAE VAR
– สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง (Flour treatment agent)
INS 1102 GLUCOSE OXIDASE
– สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น (Antioxidant)
INS 1442 HYDROXYPROPYL DISTARCH PHOSPHATE
– สารป้องกันการจับเป็นก้อน (Anticaking agent)
– สารทำให้คงตัว (Stabilizer)
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารให้ความข้นเหนียว (Thickener)
INS 1520 PROPYLENE GLYCOL
– สารเคลือบผิว (Glazing agent)
– สารทำให้เกิดความชุ่มชื้น (Humectant)
– อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)
– สารช่วยทำละลาย หรือช่วยพา (Carrier)