fbpx

คีโตอยู่ดีๆ ทำไมเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเยอะขึ้น!!!!

เครื่องชั่งไฟฟ้าที่เราใช้กันที่บ้าน ประเภทที่สามารถวัดน้ำหนัก ไขมัน ปริมาณมวลกล้ามเนื้อและน้ำในร่างกายนั้น หลักการทำงานของเครื่องเรียกว่า BIA (ย่อมาจาก bioelectrical impedance analysis) คือ เจ้าเครื่องชั่งนี้จะปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ เข้าสู่ร่างกายผ่านขาของเรา กระแสไฟฟ้านี้จะไปกระทบกับมวลต่างๆ ในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ น้ำและไขมันในร่างกาย ได้เป็นความต้านทานไฟฟ้าออกมา แล้วกระแสไฟฟ้าจะวิ่งออกมากลับสู่เครื่อง เครื่องจะทำการคำนวณตามสมการที่ตั้งโปรแกรมเอาไว้ โดยการคำนวณจะอาศัยปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง เป็นต้น ผลที่ได้ก็จะเป็นองค์ประกอบของร่างกายตามที่แสดงผลบนหน้าจอเครื่องชั่งน้ำหนักนั่นเอง
หมายเหตุ ไขมันเป็นฉนวนและสามารถต้านทานไฟฟ้าได้มากกว่ากล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อมีส่วนประกอบของน้ำอยู่ในเซลล์มากกว่าจึงมีความต้านทานน้อยกว่าเซลล์ไขมัน (ที่มา dietitian.in.th)

ภาพการอธิบายการไหลของกระแสไฟ

ไขมันเป็นฉนวนและทำให้เกิดความต้านทานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อที่มีส่วนประกอบของน้ำอยู่ในเซลล์มากกว่าจึงมีความต้านทานน้อยกว่าเซลล์ไขมันที่มีไขมันอยู่เป็นจำนวนมาก

การตรวจมวลไขมันด้วยวิธี BIA ถือว่ามีความแม่นยำต่ำเพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผลที่ได้มีความผันผวน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางร่างกาย เช่น ฝ่าเท้าไม่สะอาด ผิวหนังเปียกชื้น ปริมาณน้ำในร่างกาย การออกกำลังกาย หรือปัจจัยของตัวเครื่อง เช่น แบตเตอรี่อ่อน จนมีผลต่อการปล่อยกระแส หรือแม้แต่การตั้งค่าสมการคำนวณของแต่ละบริษัทที่แตกต่างกัน เป็นต้น

เครื่องชั่งน้ำหนักเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางคร่าวๆ เพื่อดูความคืบหน้าของการไดเอทของเราได้บ้าง แต่ไม่สามารถยึดเป็นสรณะได้ไม่ต้องนอยด์ไปกับมัน จากงานศึกษาพบว่า ความผันผวนของค่าที่ได้อาจเพี้ยนได้ตั้งแต่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ จนถึงสูงระดับ 30+เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ดังนั้นอย่าตกใจหากวันนี้เราชั่งน้ำหนักแล้ว น้ำหนัก ปริมาณไขมันและมวลกล้ามเนื้อเราดูจะเพี้ยนไปจากเมื่อวานหรือสัปดาห์ก่อนมาก ทั้งที่ความจริง เราก็ดูลีนลง ดูผอมลงจนคนรอบตัวตัวทัก คนในกระจกต่างหากที่เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุด

ถ้าเครื่องชั่งน้ำหนักไฟฟ้าเชื่อถือไม่ได้ แล้วเราจะรู้ว่าไขมันเราลดลงจริงหรือเปล่าได้อย่างไรล่ะ?

วิธีการง่ายๆ ที่ทำได้เองที่บ้านก็คือ
1. สายวัด เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดสุด เพียงแค่เราวัดขนาดรอบตัว เช่น รอบ-อก เอว ต้นแขน-ขา แล้วจดบันทึกไว้เพื่อเปรียบเทียบกับรอบถัดไป หากขนาดรอบตัวเราลดลงนั่นหมายความว่าเรามาถูกทางแล้ว
2. คาลิปเปอร์ หรือก้ามปู ใช้หลักการง่ายๆ คือหนีบบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อดูความหนาของส่วนนั้น วิธ๊การนี้จะซับซ้อนกว่าวิธีการวัดด้วยสายวัด และผู้ใช้ก้ามปูต้องมีการคำนวนนิดหน่อยแต่ก็ไม่ถือว่ายากจนเกินไป **คาลิปเปอร์สามารถหาซื้อได้จากออนไลน์ทั่วไป 

วิธีการใช้คาลิปเปอร์ ก็ง่ายๆไม่กี่ขั้นตอน

วิธีการวัดก็ไม่ยาก เราจะใช้สูตร 3จุด ของ แจ็คสันแอนด์พอลล็อค 

  1. ใช้นิ้วหนีบหนังและขั้นไขมันออกมาให้มากที่สุด
  2. กางตัวหนีบกว้างๆ จะได้สอดเข้าไปหนีบชั้นไขมันง่ายๆ
  3. หนีบตัวหนีบลงบนชั้นไขมัน ดูง่ายๆคือเอาตรงที่หนังมันเริ่มแข็งๆแล้วนั่นคือตรงในๆที่ใกล้เนื้อจริงที่สุด หนีบแน่นๆให้ดังกิ๊กได้ยิ่งดี
  4. จดตัวเลขเอาไว้ เพื่อใช้คำนวน
  5. เอาตัวเลขจากการคำนวณ มาเทียบในตาราง

     

 

วิธีการคำนวนก็ง่ายมากๆ

เราเอาตัวเลขที่วัดได้จากทั้ง 3 จุด มาบวกกัน แล้วหารด้วย 3 (ก็คือการหาค่าเฉลี่ยนั่นแหละ) จากนั้นเอาตัวเลขที่ได้ มาเปรียบเทียบกับในตาราง ให้ดูที่ช่วงอายุ (ตารางแนวนอน) กับผลการคำนวนค่าเฉลี่ยของชั้นไขมัน (ตารางแนวตั้ง) จุดตัดของมันคือ เปอร์เซนต์ค่าไขมันของเรา แยกตารางผู้ชายผู้หญิง 

 

เริ่มกินคีโตมาตั้งแต่ปี 2017 เริ่มสร้างสรรอาหารและขนมที่คีโตกินได้ แจกจ่ายมาตั้งแต่ช่วงนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้สูตรต่างๆยังคงหมุนเวียนส่งต่อกันอยู่เสมอๆ