fbpx

ว่าด้วยเรื่อง โลโก้ คำว่าคีโต

อย่างที่เคยพูดบ่อยๆในปีที่แล้วว่า แบรนด์ใหญ่จะเริ่มลงตลาดไร้น้ำตาล no sugar อย่างจริงจัง ในปี 2022 นี้เราก็เริ่มได้เห็นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม หรือ ซอสปรุง น้ำจิ้มต่างๆ

วิวาทะก็เกิดขึ้นทันที เมื่อมีคำว่าคีโต บนฉลาก

เพราะในประเทศไทยเราขยันจำแนกแยกเส้นสายสาขาวิธีการกินคีโตเสียเหลือเกิน อันนี้เฮียไม่ประหลาดใจและถือว่าเป็น DNA ของชาติพันธุ์เราแต่ไหนแต่ไร ในวงการอื่นก็เป็นแบบนี้ เพราะตราบใดที่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามา มันก็เป็นธรรมดาโลก (ผลประโยชน์มาในรุป มรรค8 นาจาไม่เฉพาะในรูปการเงิน)

จริงๆเลยอธิบายไปแล้วในเม้นของโพสที่เกี่ยวกับการโวยวายฉลากคีโต ว่า . . .

อย. ไมไ่ด้รับรองคำว่าคีโต และไม่ได้มีนิยามทางนัยยะใดๆ และหากเกิดกรณีพิพาทต่างๆ ก็ไม่สามารถนำคำนี้มาเป็นข้อกล่าวหาได้ครับ

เพราะอะไร

เราต้องยอมรับความจริงก่อนครับว่าความชัดเจน หลักการที่เป็นแก่นมันมีอยู่แหละครับ อาจจะกว้างหน่อยในปริมาณคาร์บ แต่ปัจจัยอื่นเช่นการเติมเสริมแต่งข้อจำกัด ความที่อยากจะยิ่งยวด อยากจะได้ชื่อว่าเป็นชาวเคร่ง ก็เลยมีการมโนกติกาขึ้นมายัดข้อหาให้คนต่างกลายเป็นไม่เคร่งไป ตามตรรกะวิบัติ not me = false

ทีนี้เพราะคำว่าคีโตมันกว้างเกินไป ไม่มีขอบเขตเส้นแบ่งที่ชัดเจนเด่นชัด ไม่เหมือนกับ เจ หรือ มังสวิรัติ ที่มีเส้นห้ามก้าวผ่านที่ชัดเจนแข็งแรง

แต่คีโต ไม่เป็นเช่นนั้น

คีโตยังมีความอิหยังวะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

• -สารให้ความหวานที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มคนบางคน ทั้งที่ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว มันได้มากกว่านั้นแถมตัวที่บอกว่าธรรมชาติจริงๆแล้วเป็นสังเคราะห์ด้วยซ้ำ (อ่านในซีรีย์ ASS ได้)

• -เนยที่มีนมผง ที่ความจริงคือคาร์บไม่ต่าง(เผลอๆน้อยกว่าครีม) เนื้อนมก็ไม่ต่าง แต่อ้างว่านมผงคืกินไม่ได้เฉยเลย นี่คือเหตุผล???

• -เต้าเจี้ยวต้องมาดูว่าหมักนานกี่วัน แทนที่จะดูปริมาณที่บริโภค

คือพวกนี้ไม่ได้อิงหลักวิทยาศาสตร์แห่งการใช้ชีวิตจริงเลย อิงแต่ตัวเลขทางตำราบนหอคอยงาช้าง มันจึงส่งผลให้เอามาใช้ตัดสินข้อพิพาทไม่ไ้ด เพราะไม่มีเหตุผลและหลักการ มีแต่หลักกู ลำพังแค่คีโตกินอะไรได้ ไม่ได้ ก็ปิดประตูแล้วครับ อันนี้พูดได้เพราะเฮียเคยคุยกับทางอย. มาเยอะ

นี่ก็เลยทำให้ไอ้คำว่าคีโต หรือ โลโก้คีโตสวยๆ มันเป็นแค่เครื่องอำนวยความสะดวกให้เตะตาคนหน่อย ดึงดูดสายตาคนคีโตให้เข้ามาหา ไมไ่ด้เป็นตัวการันตีว่า จะใส่ส่วนประกอบตรงตามพระวินัย คีโตสายที่คุณบูชากันอยู่

พูดง่ายๆ โลโก้คีโต มีคุณค่าไม่ต่างกับแค่โลโก้ unsalted อย่างในรูป

เผลอๆจะด้อยกว่าด้วย เพราะโลโก้ unsalted ถ้าเจือกใส่เกลือ นี่ยังฟ้อง สคบ ได้เพราะมีหลักสอดคล้องได้กรณีพิพาท

แล้วทำไง???

เรื่องเดิมฉายซ้ำคือ ฉลาก3รู้ ฉลากที่คนคีโตควรดู

• รู้1 รู้ส่วนประกอบสำคัญ

• รู้2 รู้สารอาหารโภชนาการ

• รู้3 รู้วันผลิตหรือหมดอายุ

เห็นไหมครับ ไม่มีสักแอะที่ให้ดูคำว่าคีโตบนฉลาก ถ้ายึดหลักฉลาก3รู้ ต่อให้ไม่มีคำว่าคีโต คุณก็เลือกสินค้าเป็นเองได้ และสามารถฟ้องได้หากมีข้อพิพาท เพราะฉลากบอกว่าใส่อะไรแล้วถ้าไม่ใส่ตามนั้นหรือสารอาหารคำนวนมาผิด พวกนี้คุณฟ้องได้หมดเพราะมันเข้าข่ายปลอมฉลากแทน พอเข้าใจใช่ไหมครับว่าทำไมหลายๆเจ้าเลยไม่กล้าใส่ ทุกอย่างเราคิดเราคำนวนย้อนได้หมดครับ สมการถ้าจะเป็นจริง ซ้ายต้องเท่ากับขวาเสมอ

คนเราก็เช่นกันครับ คุณยังเห็นคนคำนวนคาร์บไม่เป็นเยอะแยะตาแป๊ะ ในขณะที่คนทำขายก็เยอะแยะตาแป๊ะ

ดังนั้นถ้าเราตั้งสมมติฐานว่ากลุ่มA=กินคีโตแบบไม่แม่นสารอาหาร กลุ่มB=คนขายของกินคีโต ยูเนียน set ของทั้ง 2กลุ่ม มาทับซ้อนกัน (Intersection) ย่อมเกิดขึ้น นั่นหมายถึงว่า คนคิดสารอาหารไม่เป็นหรือเป็นแบบผิดๆแต่ทำขนมขาย ย่อมเกิดขึ้นได้แน่นอน จริงอยู่ว่ามันคงจะไม่ทั้งหมด แต่ที่เราไม่รู้คือ Intersection ที่มันทับซ้อนกันมีมากแค่ไหนต่างหาก ส่วนที่เรารู้คือมันมีแน่แล้วเรามักจะต้องเป็นคนตัดสินใจ

ดังนั้นถ้าเราต้องอยู่ในดงสินค้าของ จักรวาลทับซ้อนของยูเนียนคนขายและคนคำนวนไม่ถูกไม่เป็น เราจะอยู่รอดยังไง

ฉลาก3รู้ คือตัวช่วยที่ดี ในการเลือกของกินที่มั่นใจขึ้นมา . . . นิดนึง

พอจะเข้าใจใช่ไหมครับ ทำไมผมถึงคิดเรื่อง “ฉลาก3รู้” ขึ้นมาและผลักดันอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
#สาระเร็ว#pirateketo#ฉลาก3รู้#อิหยังวะคีโต

โต้งเอง บุคคลที่พยายามเล่าเรื่องที่คนไม่รู้เรื่อง ให้รู้เรื่อง แม้บางทีคนที่อยากให้รู้เรื่อง จะอ่าน/ฟังแล้วไม่รู้เรื่องก็ตาม