fbpx

 

ถั่วเขียว เป็นวัตถุดิบยอดนิยม ที่หลายๆคนชื่นชอบ ประกอบอาหารได้ทั้งยำ ก๋วยเตี๋ยว อบหม้อดิน แกงจืด และอื่นๆอีกมากมาย เราเชื่อกันว่าสามารถควบคุมน้ำหนักได้ บางคนอาจบอกว่าโอเคถึงไม่ได้ทำให้น้ำหนักลดแต่ก็ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ซึ่งวันนี้เราจะไม่คุยในหัวข้อนี้ สิ่งที่น่าสนใจคือ เราท่องกันมาตลอดว่า วุ้นเส้นทำมาจากถั่วเขียว ก่อนที่จะเริ่มขยายความให้เข้าใจชัดขึ้นว่า ไม่ใช่ถัวเขียวแต่เป็น “แป้ง” ถั่วเขียว (bean starch ซึ่งนิยามทางสารอาหาร starch ต่างกับ flour เพราะ starch นั้นคือ คาร์บเต็มๆ ที่สกัดด้วยกระบวนการ ในขณะที่ flour ส่วนใหญ่ยังเป็นการบดโม่) กระนั้นก็เถิด ด้วยโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป เรายังคงท่องแค่ว่า วุ้นเส้น ทำมาจาก แป้งถั่วเขียว ได้จริงๆหรือ 

ไม่มีอะไรดีไปกว่า ออกไปหาคำตอบกันเลย ว่าส่วนประกอบที่แท้จริงของ วุ้นเส้น ในทุกวันนี้ ทำมาจากแป้งถั่วเขียว ตามที่เราเข้าใจ และคาดหวังความสุขภาพจากวุ้นเส้นเพราะทำมาจากแป้งถั่วเขียว จริงหรือไม่ 

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ข้อมูลนี้มีไว้เพื่อตอบคำถามว่า วุ้นเส้น ทำมาจากแป้งถั่วเขียวเท่านั้นไหม เพราะหลายๆครั้งที่เรากินวุ้นเส้นเราจะเชื่อมั่นว่ามันคือถั่วเขียว ดังนั้น เราไม่ยกประเด็นเหตุผลทางใดก็ตามไม่ว่าลบหรือบวก หากว่ามันไม่ได้มีแค่ ถั่วเขียว ตามที่เราเคยท่องกันมา เนื้อหาโพสนี้ มีไว้เพื่อตอบแค่ว่า ตกลงแล้วมันมีแค่ ถั่วเขียว (แป้งถั่วเขียว)จริงหรือไม่

จากการเดินสำรวจในซุปเปอร์มาร์เก็ต เราพอจะนำตัวอย่างมาแสดงได้ดังนี้

แบรนด์ปริมาณแป้งถั่วเขียวปริมาณแป้งอื่นๆ
คุ้มค่าแป้งถั่ว 10%แป้งมันสำปะหลัง 85% , แป้งมันฝรั่ง 5%
เถาถั่วแป้งถั่ว 50%แป้งมันฝรั่ง 50%
มังกรคู่แป้งถั่ว 100%
มังกรคู่ ควิกแป้งถั่ว 50%แป้งมันฝรั่ง 35%, แป้งมันสำปะหลัง 15%
กิเลนคู่ ปรุงสุกไวแป้งถั่ว 60%แป้งมันสำปะหลัง 20%, แป้งมันฝรั่ง 20%
ต้นสนแป้งถั่ว 100%
ต้นน้ำ Goldแป้งถั่ว 100%
ต้นน้ำแป้งถั่ว 72%แป้งมันฝรั่ง 16%, แป้งถั่วลันเตา 8%, แป้งมันสำปะหลัง 4%
แป้งถั่วเขียว = (Mung) bean starch, แป้งมันฝรั่ง = potato starch, แป้งมันฝรั่ง = tapioca starch, แป้งถั่วลันเตา = pea starch

ข้อสังเกตคือ แป้งทั้งหมดล้วนเป็น starch ทั้งสิ้น

ใดๆแล้วโอกาศต่อไปจะพยายามนำแบรนด์อื่นมาเพิ่มเติมข้อมูลให้เรื่อยๆครับ ปิดท้ายด้วยรูปจากการสำรวจครั้งนี้ พร้อมตารางโภชนาการ

ย้ำอีกครั้งว่า บทความเพื่อการศึกษานี้ไม่ได้มีไว้โจมตีกระบวนการผลิตใดๆ เพราะเข้าใจดีว่าแต่ละแบรนด์ต้องหาเอกลักษณ์ในสัมผัสและรสชาติ ตามที่ต้องการจะให้สินค้าเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู็บริโภค และบทความนี้มีไว้เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคจำเป็นต้องศึกษาฉลากอาหารก่อนบริโภคเพื่อให้ได้สินค้าที่ตรงความต้องการที่สุด ในการตลาดที่มีสินค้าหลากหลายให้เลือกจับจ่ายใช้สอย


โต้งเอง บุคคลที่พยายามเล่าเรื่องที่คนไม่รู้เรื่อง ให้รู้เรื่อง แม้บางทีคนที่อยากให้รู้เรื่อง จะอ่าน/ฟังแล้วไม่รู้เรื่องก็ตาม